วิธีดูแล บำรุง รักษาเครื่องเสียงรถยนต์



การดูแลรักษาเครื่องเสียง 

     การดูแลรักษาเครื่อง และระบบการทำงานเป็นครั้งคราวจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ยาวนานยิ่งขึ้น 
คำเตือน - อย่าให้เครื่องถูกฝนหรือความชื้น เพื่อลดอุบัติเหตุจากไฟไหม้หรือไฟลัดวงจร 
ข้อควรระวัง - การควบคุมหรือการปรับ การทำใด ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในคู่มือการใช้งานนี้ อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการแผ่กระจายคลื่นรังสีจากตัวเครื่อง หากมีการเปิดฝาครอบเครื่องออก 
และใช้งานเครื่อง ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับตัวเครื่อง 
ข้อควรระวังเบื้องต้น 
การติดตั้ง 
1.อย่าวางเครื่องใกล้น้ำหรือความชื้น เช่น ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ อ่างล้างมือ 
2.อย่าวางเครื่องใกล้แหล่งความร้อน เช่น ช่องระบายความร้อน เตาไฟ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ให้กำเนิดความร้อน ไม่ควรวางเครื่องในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซนเซียส (41องศาฟาเรนไฮ) หรือสูงกว่า 35 องศาเซนเซียส ( 95 องศาฟาเรนไฮ) 
3.ควรวางเครื่องโดยให้ได้ระดับบนพื้นผิวราบและเรียบ 
4.ควรวางเครื่องโดยให้มีช่องว่างเพียงพอที่จะระบายความร้อนได้ดี โดยให้มีช่องว่างจากด้านหลังและด้านบนของเครื่อง 10 ซม. และด้านข้าง 5 ซม. 
5.อย่าวางเครื่องบนเตียง พรม หรือบนพื้นผิวที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ้งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี 
6.อย่าวางเครื่องบนชั้นหนังสือ ในตู้เสื้อผ้า หรือในที่ที่เป็นกรอบแคบ ซึ่งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี 
7.ระวังอย่าให้วัตถุสิ่งของหรือของเหลวผ่านเข้าไปในช่องระบายความร้อนสู่ด้านในของตัวเครื่อง 
8.เมื่อวางหรือตั้งเครื่องบนชั้นวางหรือแสตนด์ควรทำด้วยความระมัดระวัง การวางแรงเกินไปหรือวางบนพื้นไม่เรียบอาจทำให้เครื่องหรือชั้นวางพลิงคว่ำหล่นลงได้ 
9.ความชื้นอาจทำให้เกิดไอน้ำเกาะบนเลนส์ที่เป็นตัวอ่านแผ่นซีดี ซึ่งอาจเกิดจาก 
- การย้ายเครื่องจากที่อากาศเย็นไปยังที่อากาศร้อน 
- มีการเปิดระบบเครื่องทำความร้อนใหม่ 
- วางเครื่องในห้องที่มีความชื้นมาก 
- วางเครื่องใกล้กับเครื่องปรับอากาศ 
หากเครื่องเกิดสภาวะที่มีไอน้ำเกาะนี้ เครื่องอาจทำงานไม่ปกติ ให้ปิดเครื่องทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง แล้วลองเปิดเครื่องใหม่ 
10.ไม่ควรติดตั้งเครื่องที่ผนังหรือเพดาน เว้นเสียแต่ในคู่มือการใช้งานกำหนดไว้ 

กำลังไฟฟ้า สายไฟ AC 
1.เมื่อต้องการถอดสายไฟ AC ให้ดึงที่ตัวปลั๊ก อย่าดึงที่สายไฟ 
2.อย่าจับปลั๊กไฟ AC ขณะมือเปียกน้ำ เพราะอาจทำให้ไฟช็อต หรือไฟดูดได้ 
3.ควรเก็บสายไฟให้เรียบร้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการหักงอหรือถูกเหยียบ ให้ระวังเป็นพิเศษกับสายไฟที่ต่อจากเครื่องกับแหล่งจ่ายไฟ 
4.หลีกเลี่ยงการใช้สายไฟ AC กับสายพ่วงอย่างเกินกำลัง เพราะอาจทำให้ไฟช็อตหรือไฟไหม้ได้ 
5.ควรถอดสายไฟ AC จากปลั๊ก ถ้าจะไม่ใช้เครื่องเป็นเวลานานหลายเดือน เมื่อมีการเสียบปลั๊กอยู่ จะมีกระแสไฟต่ำ ๆ ไหลเข้าตัวเครื่องตลอดเวลา แม้เมื่อเครื่องจะปิดอยู่ก็ตาม 
การทำความสะอาดตัวเครื่อง 
ใช้ผ้านุ่มแห้งเช็ด ถ้าสกปรกมาก ใช้ผ้าชุมน้ำสบู่อ่อน ๆ บิดหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาด ห้ามใช้แอลกอฮอล์ น้ำมันเบนซิน หรือทินเนอร์ เช็ดถูเครื่อง เพราะจะทำให้ตัวเครื่องได้รับความเสียหาย 
การทำควรสะอาดหัวเทปและส่วนเล่นเทป เมื่อหัวเทปสกปรก 
- เสียงความถี่สูงไม่สามารถส่งออกมาได้ 
- เสียงสูงไม่สมบูรณ์ 
- เสียงไม่สมดุล 
- ไม่สามารถลบเทปได้ 
- ไม่สามารถบันทึกเทปได้ 
ทุกการใช้งานครบ 10 ชั่วโมง ควรทำความสะอาดหัวเทป และส่วนเล่นเทปด้วยน้ำยาล้างหัวเทป 
เมื่อหัวเทปเกิดสภาวะเป็นแม่เหล็ก 
หลังจากที่ใช้งานหัวเทปไปนาน ๆ จะทำให้หัวเทปเกิดสภาวะเป็นแม่เหล็กขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้การบันทึกเทปเกิดสัญญาณรบกวนมาก ดังนั้นหลังจากการใช้งานทุก 20 ถึง 30 ชั่วโมง ควรมีการล้างอำนาจสนามแม่เหล็กที่หัวเทปออกด้วยน้ำยาล้างแม่เหล็กที่หัวเทป ที่ขายแยกต่างหาก 

การดูแลรักษาแผ่นซีดี 
- หากแผ่นซีดีสกปรก ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดจากศูนย์กลางของแผ่นซีดีออกมา 
- หลังจากใช้งาน ควรเก็บแผ่นไว้ในตลับ ห้ามวางแผ่นใกล้กับแหล่งความชื้น หรือแหล่งความร้อน 

การดูแลรักษาม้วนเทป 
- เก็บม้วนเทปลงในตลับ หลังจากเลิกใช้งาน 
- ห้ามวางม้วนเทปใกล้กับแม่เหล็ก มอเตอร์ เครื่องรับโทรทัศน์ หรือแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก เพราะจะทำให้คุณภาพของเสียงลดลง และเกิดเสียงรบกวน 
- ห้ามวางม้วนเทปใกล้กับแหล่งความร้อน หรือทิ้งไว้ในรถที่จอดตากแดด 


ที่มา.. คู่มือการใช้เครื่องเสียง บริษัทไอว่า อินเตอร์เนชั้นแนล(ประเทศไทย) จำกัด การดูแลรักษาเครื่องเสียง 
การดูแลรักษาเครื่อง และระบบการทำงานเป็นครั้งคราวจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ยาวนานยิ่งขึ้น 
คำเตือน - อย่าให้เครื่องถูกฝนหรือความชื้น เพื่อลดอุบัติเหตุจากไฟไหม้หรือไฟลัดวงจร 
ข้อควรระวัง - การควบคุมหรือการปรับ การทำใด ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในคู่มือการใช้งานนี้ อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการแผ่กระจายคลื่นรังสีจากตัวเครื่อง หากมีการเปิดฝาครอบเครื่องออก 
และใช้งานเครื่อง ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับตัวเครื่อง 
ข้อควรระวังเบื้องต้น 
การติดตั้ง 
1.อย่าวางเครื่องใกล้น้ำหรือความชื้น เช่น ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ อ่างล้างมือ 
2.อย่าวางเครื่องใกล้แหล่งความร้อน เช่น ช่องระบายความร้อน เตาไฟ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ให้กำเนิดความร้อน ไม่ควรวางเครื่องในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซนเซียส (41องศาฟาเรนไฮ) หรือสูงกว่า 35 องศาเซนเซียส ( 95 องศาฟาเรนไฮ) 
3.ควรวางเครื่องโดยให้ได้ระดับบนพื้นผิวราบและเรียบ 
4.ควรวางเครื่องโดยให้มีช่องว่างเพียงพอที่จะระบายความร้อนได้ดี โดยให้มีช่องว่างจากด้านหลังและด้านบนของเครื่อง 10 ซม. และด้านข้าง 5 ซม. 
5.อย่าวางเครื่องบนเตียง พรม หรือบนพื้นผิวที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ้งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี 
6.อย่าวางเครื่องบนชั้นหนังสือ ในตู้เสื้อผ้า หรือในที่ที่เป็นกรอบแคบ ซึ่งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี 
7.ระวังอย่าให้วัตถุสิ่งของหรือของเหลวผ่านเข้าไปในช่องระบายความร้อนสู่ด้านในของตัวเครื่อง 
8.เมื่อวางหรือตั้งเครื่องบนชั้นวางหรือแสตนด์ควรทำด้วยความระมัดระวัง การวางแรงเกินไปหรือวางบนพื้นไม่เรียบอาจทำให้เครื่องหรือชั้นวางพลิงคว่ำหล่นลงได้ 
9.ความชื้นอาจทำให้เกิดไอน้ำเกาะบนเลนส์ที่เป็นตัวอ่านแผ่นซีดี ซึ่งอาจเกิดจาก 
- การย้ายเครื่องจากที่อากาศเย็นไปยังที่อากาศร้อน 
- มีการเปิดระบบเครื่องทำความร้อนใหม่ 
- วางเครื่องในห้องที่มีความชื้นมาก 
- วางเครื่องใกล้กับเครื่องปรับอากาศ 
หากเครื่องเกิดสภาวะที่มีไอน้ำเกาะนี้ เครื่องอาจทำงานไม่ปกติ ให้ปิดเครื่องทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง แล้วลองเปิดเครื่องใหม่ 
10.ไม่ควรติดตั้งเครื่องที่ผนังหรือเพดาน เว้นเสียแต่ในคู่มือการใช้งานกำหนดไว้ 

กำลังไฟฟ้า สายไฟ AC 
1.เมื่อต้องการถอดสายไฟ AC ให้ดึงที่ตัวปลั๊ก อย่าดึงที่สายไฟ 
2.อย่าจับปลั๊กไฟ AC ขณะมือเปียกน้ำ เพราะอาจทำให้ไฟช็อต หรือไฟดูดได้ 
3.ควรเก็บสายไฟให้เรียบร้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการหักงอหรือถูกเหยียบ ให้ระวังเป็นพิเศษกับสายไฟที่ต่อจากเครื่องกับแหล่งจ่ายไฟ 
4.หลีกเลี่ยงการใช้สายไฟ AC กับสายพ่วงอย่างเกินกำลัง เพราะอาจทำให้ไฟช็อตหรือไฟไหม้ได้ 
5.ควรถอดสายไฟ AC จากปลั๊ก ถ้าจะไม่ใช้เครื่องเป็นเวลานานหลายเดือน เมื่อมีการเสียบปลั๊กอยู่ จะมีกระแสไฟต่ำ ๆ ไหลเข้าตัวเครื่องตลอดเวลา แม้เมื่อเครื่องจะปิดอยู่ก็ตาม 
การทำความสะอาดตัวเครื่อง 
ใช้ผ้านุ่มแห้งเช็ด ถ้าสกปรกมาก ใช้ผ้าชุมน้ำสบู่อ่อน ๆ บิดหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาด ห้ามใช้แอลกอฮอล์ น้ำมันเบนซิน หรือทินเนอร์ เช็ดถูเครื่อง เพราะจะทำให้ตัวเครื่องได้รับความเสียหาย 
การทำควรสะอาดหัวเทปและส่วนเล่นเทป เมื่อหัวเทปสกปรก 
- เสียงความถี่สูงไม่สามารถส่งออกมาได้ 
- เสียงสูงไม่สมบูรณ์ 
- เสียงไม่สมดุล 
- ไม่สามารถลบเทปได้ 
- ไม่สามารถบันทึกเทปได้ 
ทุกการใช้งานครบ 10 ชั่วโมง ควรทำความสะอาดหัวเทป และส่วนเล่นเทปด้วยน้ำยาล้างหัวเทป 
เมื่อหัวเทปเกิดสภาวะเป็นแม่เหล็ก 
หลังจากที่ใช้งานหัวเทปไปนาน ๆ จะทำให้หัวเทปเกิดสภาวะเป็นแม่เหล็กขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้การบันทึกเทปเกิดสัญญาณรบกวนมาก ดังนั้นหลังจากการใช้งานทุก 20 ถึง 30 ชั่วโมง ควรมีการล้างอำนาจสนามแม่เหล็กที่หัวเทปออกด้วยน้ำยาล้างแม่เหล็กที่หัวเทป ที่ขายแยกต่างหาก 

การดูแลรักษาแผ่นซีดี 
- หากแผ่นซีดีสกปรก ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดจากศูนย์กลางของแผ่นซีดีออกมา 
- หลังจากใช้งาน ควรเก็บแผ่นไว้ในตลับ ห้ามวางแผ่นใกล้กับแหล่งความชื้น หรือแหล่งความร้อน 

การดูแลรักษาม้วนเทป 
- เก็บม้วนเทปลงในตลับ หลังจากเลิกใช้งาน 
- ห้ามวางม้วนเทปใกล้กับแม่เหล็ก มอเตอร์ เครื่องรับโทรทัศน์ หรือแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก เพราะจะทำให้คุณภาพของเสียงลดลง และเกิดเสียงรบกวน 
- ห้ามวางม้วนเทปใกล้กับแหล่งความร้อน หรือทิ้งไว้ในรถที่จอดตากแดด 


ที่มา.. คู่มือการใช้เครื่องเสียง บริษัทไอว่า อินเตอร์เนชั้นแนล(ประเทศไทย) จำกัด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น